TCEB จับมือ EEC และเมืองพัทยา เดินหน้า ไทยแลนด์ ล็อกอิน อีเวนท์ เร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ หลังโควิด-19 คลี่คลาย

             (25 ก.ย.63) ที่ โรงแรม แกรนด์ เซ็นเตอร์ พอยต์ พัทยา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) นำโดยมีนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ พาคณะสื่อมวล ทั้ง 30 สำนัก เข้าร่วมกิจกรรมเสวนาภายใต้แผนแม่บทอุตสาหกรรม ไทยแลนด์ ล็อก-อิน อีเวนท์ มุ่งเน้นการสร้างงานใหม่และขยายงานลงสู่พื้นที่ EEC ในฐานะจุดหมายปลายทางใหม่ของนักลงทุนทั่วโลก รวมถึงเมืองพัทยาซึ่งเป็นเมืองแห่งไมซ์ซิตี้ที่แรกของประเทศไทย
            ซึ่งกิจกรรมเสวนามีวิทยาการมาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับความคืบหน้าของแผนแม่บทดังกล่าว ประกอบด้วย ดร.คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ที่ปรึกษานายกเมืองพัทยาด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และนายธเนศ จันทร์เจริญ คณะทำงานบริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์ เนชั่นแนล เอวิ เอชี่น จำกัด หรือ ยูทีเอ
            นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า นโยบายของทีเส็บในการเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ผ่านแคมเปญส่งเสริมการจัดการไมซ์ เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง หลังสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยคลี่คลายลง และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์ให้กลับมาเดินหน้าต่อไปได้ ผ่านการกระตุ้นด้วยแผนแม่บทไทยแลนด์ล็อกอิน อีเวนท์ โดยมุ่งเน้นในส่วนการสนับสนุนด้านงานแสดงสินค้านานาชาติเป็นหลัก ผ่านการประสานประโยชน์กับพันธมิตรหลังอย่าง EEC และเมืองพัทยา ในการสนับสนุนด้านต่าง ๆ เช่น การสนับสนุนด้านการเงินในการจัดงานแบบปกติใหม่ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการสำรวจพื้นที่ ค่าประชาสัมพันธ์งาน
              ทั้งนี้แผนแม่บทนี้จะช่วยกระตุ้นอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้านานาชาติ ภายใต้การจัดงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมการบิน และอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ EEC อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร ซึ่งเป้าหมายหลักของแผนแม่บท แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ส่งเสริมงานแสดงสินค้านานาชาติทุกรูปแบบที่จะช่วยผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย และผลักดันให้เกิดงานแสดงสินค้านานาชาติกลุ่มดังกล่าวในประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC โดยมีตัวช่วยหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 1. การสนับสนุนด้านการเงิน 2. การสนับสนุนจานพื้นที่เผ้าหมาย 3. การอำนวยความสะดวกด้านนโยบาย และ 4.การส่งเสริมภาพลักษณ์ สร้างความมั่นใจให้คู่ค้าในต่างประเทศต่อไป
Subscribe
Advertisement