ศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้มการส่งออกหน้ากากอนามัยไปยังต่างประเทศโดยใช้เครื่องเอ็กซเรย์เกือบทุกตู้ ที่ผ่านมาพบผู้กระทำความผิดส่งออกเกินจำนวนที่ขออนุญาต 6,000 ชิ้น ส่งดำเนินคดีไปเรียบร้อยแล้ว (มีคลิป)

           (16 มี.ค.63) นายนิมิตร แสงอำไพ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง พร้อมด้วยตัวแทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และตัวแทนบริษัทผู้ส่งออก ร่วมกันตรวจสอบสินค้าส่งออกประเภท “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” ใบขนสินค้าขาออก 4 ฉบับ (4 ตู้คอนเทนเนอร์) สำแดงชนิดสินค้าเป็น “ผ้าปิดจมูกใช้ทางการแพทย์” ปริมาณกว่า 3.2 ล้านชิ้น มูลค่า 5.1 ล้านบาท โดยใช้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน BOI ส่งออกไปยังปลายทางประเทศสหรัฐอเมริกา ประกอบกับหนังสืออนุญาตการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ของกรมการค้าภายใน โดยจากการเปิดตู้สินค้าตรวจสอบพบชนิดและปริมาณตรงตามที่สำแดงในใบขนสินค้าและใบอนุญาตฯ ซึ่งการตรวจการส่งออกหน้ากากอนามัยในครั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน และชี้แจงแก้ข่าวลือต่างๆ ว่ามีการลักลอบนำหน้ากากอนามัยส่งขายไปยังต่างประเทศ
            นายนิมิต แสงอำไพ เปิดเผยว่า บริษัท เอ็มเมอรัลด์ฯ ได้ส่งสินค้าออกเป็นประจำอยู่แล้ว ก่อนที่จะเกิดวิกฤตโควิด -19 ซึ่งได้ผ่านการตรวจของศุลกากรมาโดยตลอด ซึ่งบริษัท เอ็มเมอรัลด์ฯ ได้สิทธิ BOI ซึ่ง BOI ได้ขออนุมัติบอร์ดการลงทุนนำวัตถุดิบเข้ามาผลิตแล้วส่งออกไปเท่านั้น โดยมีอายุวัตถุดิบ 1 ปี ถ้า 1 ปีไม่ได้ส่งก็ต้องให้หยุดเพื่อเสียภาษี ซึ่งถ้าจะเสียภาษีต้องขอบอร์ด BOI เพื่อขอเสียภาษีศุลกากร แล้วขายไปได้ เลย 30 วันแล้วมาชำระภาษี ซึ่งถ้าไม่ชำระก็จะถูกปรับ 4 เท่าของงราคาของและมีโทษจำคุกด้วย

            ทั้งหมด BOI เป็นผู้ดูแล ส่วนศุลกากรจะเป็นผู้ดูแลที่ประตูประเทศให้นำเข้า-ส่งออก แล้วป้อนข้อมูลให้ BOI สำหรับบริษัทเอ็มเมอรัลด์ฯ เป็นผู้รับจ้างผลิตหน้ากากอนามัย แต่ลิขสิทธิ์เป็นของบริษัทต่างประเทศ
             การตรวจสินค้าในวันนี้ ศุลกากรไม่ห่วงบริษัทที่แจ้งว่าเป็นหน้ากากอนามัย แต่ห่วงบริษัทที่แจ้งเป็นสินค้าประเภทอื่น แล้วลักลอบนำหน้ากากอนามัยส่งออกไปนอกประเทศ ซึ่งทางศุลกากรต้องทำการเอ็กซเรย์ตู้สินค้าขาออกเกือบทุกตู้ ถ้าสถานการณ์ไม่ดีขึ้น ซึ่งเครื่องเอ็กซเรย์จะต้องทำงานหนักเป็นอย่างมาก ส่วนตู้ที่แสดงว่าเป็นหน้ากากอนามัยก็จะต้องตรวจสอบจำนวน และคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ในเดือนที่ผ่านมาศุลกากรสามารถตรวจจับบริษัท 1 รายดำเนินคดีตามกฎหมาย ที่ส่งสินค้าเกินจำนวนใบอนุญาตไปจำนวน 6,000 ชิ้น นอกนั้นยังไม่พบว่ามีการกระทำผิดในเรื่องอื่นๆ

(ชมคลิป)

Subscribe
Advertisement