รัสเซียส่ง M i-171A2 Ansat ลุยตลาด ฮ.ในไทย พร้อมสาธิตสมรรถนะให้ชมถึงกองทัพ

รัสเซียส่ง M i-171A2 Ansat ลุยตลาด ฮ.ในไทย พร้อมสาธิตสมรรถนะให้ชมถึงกองทัพ

วันนี้ (26 พ.ย.61) ที่ ฝูงบิน 201 กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ รองปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย พลเอก วิจักขฐ์ สิริบรรสพ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหาร บก เดินทางเข้าร่วมชมการสาธิตสมรรถนะและการบินของเฮลิคอปเตอร์ รวมทั้งการทดลองนั่งเฮลิคอปเตอร์ รุ่น Ansat (อานสาต) และ รุ่น M i-171A2 โดยเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง คณะผู้บริหารระดับสูงของ รัสเซียเฮลิคอป เตอร์ส (Russian Helicopters) ให้การต้อนรับ
สำหรับสาธิตครั้งนี้เป็น ถือเป็นการสาธิตเฮลิคอปเตอร์ สำหรับฝ่ายพลเรือนและทหาร ที่คาดว่าไม่กี่ปีข้างหน้า จะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นและในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการเดินทางไปสาธิตมาแล้วหลายประเทศ โดย ฮ.แบบ M i-171A2 เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ล่าสุดในครอบครัว M i-8/17 ที่ใช้กันแพร่หลายในทั่วโลก มีการรวมเทคโนโลยีใหม่ที่เน้นความสะดกปลอดภัย มีการนำทางด้วยระบบดิจิตอลที่สามารถบินได้สูงสุด 6,000 เมตร ขนาดกำลัง 2,700 แรงม้า ความเร็วสูงสุด 280 กม./ชม. สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้ ผ่านมาตรฐานสูงสุดของ AP 29 อีกทั้งยังเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่สามารถรับลำเลียงคนเจ็บได้ถึง 2 ที่ การทำงานหากเครื่องยนต์มีปัญหา 1 เครื่องสามารถบินได้ด้วยเครื่องยนต์เพียงเครื่องเดียว

 

ส่วน “อานสาต” (Ansat) เป็นเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของ AP-29 (FAR-29) ล่าสุดและมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง มีรูปแบบที่แตกต่างกันโดยมีระบบควบคุมการบินโดยสายการบินรุ่นล่าสุด และอีกรูปแบบหนึ่งด้วยระบบการควบคุมเครื่องจักรกลแบบไฮโดรคาร์แบบเดิมโดยได้รับการรับรองจาก Aviation Register (AR, IAC) ของคณะกรรมการการบินแห่งรัฐ ใช้พลังงานจากเครื่องยนต์ PW 207K Pratt & Whitney Canada 630 แรงม้าและระบบ FADEC ที่ช่วยให้เฮลิคอปเตอร์สามารถบินต่อไปได้หากเครื่องยนต์ล้มเหลว ด้วยความเร็วสูงสุด 275 กม./ชม. สามารถใช้ในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารเพื่อเฝ้าระวังในการค้นหาและช่วยเหลือการปฏิบัติงานการดับเพลิงและการปฏิบัติภารกิจของ medevac ห้องโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในห้องเรียนและสามารถปรับแต่งได้อย่างรวดเร็ว ประตูเลื่อนบานเลื่อนและห้องโดยสารขนาดใหญ่ช่วยให้การขนส่งสะดวกสบายสูงสุด 8 ผู้โดยสารและทำให้สามารถจัดสรรอุปกรณ์จำนวนมากที่สุดในรูปแบบการออกแบบพิเศษ ซึ่งทั้งสองรุ่นผลิตจากโรงงานคาซาน ในเมืองชื่อเดียวกันของสาธารณรัฐตาตาร์สถาน (Tatarstan Republic) ภายใต้ร่มธงรัสเซียเฮลิคอปเตอร์ส ที่มีรัฐวิสาหกิจรอสเท็ค (Rostec) หรือ “รัสเซีย เทคโนโลยีส์” กำกับดูแลอีกทอดหนึ่ง


ภาพ/ข่าว : ทิวากร

Subscribe
Advertisement